12月3日に、タイ北部にあるノンブアデン輸出ホムトンバナナ生産組合で、山梨県でぶどうやスモモなどを栽培されている小川孝郎先生を招き「有機肥料と土作り勉強会に向けて座談会」を開催しました。
小川先生にはこれまで10回以上、タイ南部ホムトンバナナ産地で栽培支援をしていただいています。
現在54名の生産者がバナナ栽培を行っているノンブアデンの産地で、座談会には30名を超える生産者が集まり、良いバナナを作るため、土作り、化学肥料削減に向けての有機肥料作りなどについて参加者の皆さんと具体的な話ができたのではないかと思います。
北部地域はサトウキビやキャッサバなどを栽培する痩せた土壌が多く、1,2年目はうまく行っていたバナナ栽培も、3年目に失敗するなど、土作りや肥料作りなどで様々な問題を抱えていました。これも、単純に化学肥料を使えばいいと言う考え方ではないからこそ浮上する課題でもあります。
そのような問題に対して、小川先生は生産者の皆さんと一緒に圃場を視察され、栽培する農産物こそ違えど、長年の知識と経験による土作りの方法や、良い堆肥、液肥の作り方や見分け方、植物の特性などを交えながら具体的に説明やアドバイスをしてくださいました。
今年10月に日本に来られた生産者さんで、有機肥料だけを使ってバナナ栽培をされているソムチャイさんが中心となり、たくさんの質問と意見交換がありました。ソムチャイさんは自分の圃場から土着菌を使った液肥を作るなど、土壌にあわせた栽培方法をしています。
より良いバナナを作るために、生産者の皆さんが良い方法を探し、自分たちの圃場にあった工夫をし続けています。
今回の座談会は、これまでとは違う形で再スタートする事ができたと思います。これをきっかけに、生産者が新たな発見、取り組みを進め、この産地を中心に有機肥料や土作り、より安全で美味しいホムトンバナナの栽培を目指す取り組みをし、タイ王国全体の農業に広げていける事につながる第一歩になれば幸いです。
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา อาจารย์ทากาโอะ โองาว่า ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการปลูกองุ่นและลูกพลัม ได้รับเชิญให้มาบรรยายและพบปะพูดคุยสนทนาในเรื่อง (การผลิตปุ๋ยอินทรย์และการปรับปรุงดิน) ให้แก่ชาวกลุ่มเกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งอยู่ทางภาคอีสานของไทย ซึ่งตัวอาจารย์ทากาโอะ โองาว่าเองนั้นก็ได้เคยเดินทางไปบรรยายเกี่ยวกับการปลูกกล้วยหอมทองให้กับพื้นที่ทางภาคใต้มาแล้วมากกว่าสิบครั้ง
ในปัจจุบัน ทางพื้นที่หนองบัวแดงแห่งนี้ มีจำนวนสมาชิกผู้ปลูกกล้วยหอมทองจำนวนทั้งสิ้น 54 ราย และในจำนวนนั้นมีผู้เข้าร่วมในกิจกรรมนี้ 30 กว่าราย ได้ร่วมสนทนากันในหัวข้อการลดการใช้ปุ๋ยเคมีและหันมาผลิตปุ๋ยอินทรย์ใช้เอง เพื่อเสริมสร้างดินที่ดีและผลผลิตกล้วยที่ดีอีกด้วย คิดว่าสมาชิกเกษตรกรคงได้รับความรู้และประโยชน์จากการกิจกรรมในครั้งนี้
พื้นที่แห่งนี้มีดินที่เสื่อมโทรมจากการเพาะปลูกอ้อยและมันสัมปะหลังเป็นจำนวนมาก การปรับปรุงดินและการทำปุ๋ยหมักมาใช้จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น สมาชิกเกษตรกรหลายรายมักประสบกับปัญหาการปลูกกล้วยได้ดีเพียงแค่ 1-2ปีแรกเท่านั้น แต่หลังจากปีที่3 กลับประสบกับความล้มเหลว เราไม่คิดแค่ว่าใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแล้วจะทำให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นปัญหาดินตรงนี้ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน
อาจารย์ทากาโอะ โองาว่า ได้เข้าตรวจดูแปลงกล้วยพร้อมกับสมาชิกเกษตรกร ถึงแม้ว่าผลไม้ที่อาจารย์ปลูกจะต่างกับที่นี่ แต่ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมานานของอาจารย์นั้น สามารถแนะนำแนวทางวิธีการปรับปรุงดิน,วิธีการสังเกตและการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักที่ดี รวมไปถึงการอธิบายถึงกลไกกระบวนการทำงานของพืชได้อย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย
คุณสมชาย ศิริไกรวัฒนาวงศ์ สมาชิกผู้ปลูกกล้วยที่ได้เดินทางมาประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนตุลาคมของปีนี้ เป็นแกนหลักของกิจกรรม ได้มีการพูดคุยซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างมากมาย คุณสมชายได้นำเอาจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในแปลงของตนเอง นำมาทำปุ๋ยหมักให้เหมาะสมกับสภาพดิน เพื่อผลิตกล้วยให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น สมาชิกทุกคนพยายามคิดหาวิธีการที่ดี และปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับแปลงของตนเองต่อไป
กิจกรรมการพบปะสนทนากันในครั้งนี้ ได้เริ่มต้นอีกครั้งโดยมีรูปแบบที่คิดว่าแตกต่างจากที่เคยมีมา ซึ่งอาจเป็นแรงผลักดันให้สมาชิกได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ และดำเนินการต่อไป เราจะทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตกล้วยหอมทองที่อร่อยและปลอดภัยยิ่งขึ้น นี่อาจจะเป็นก้าวแรกที่สำคัญและยินดีที่จะต่อยอดไปจนถึงภาคการเกษตรทั่วประเทศไทย